ผลงานวิจัยล่าสุดชี้ ปั่นจักรยานไฟฟ้าก็สุขภาพดีได้
หลายคนอาจคิดว่า การปั่นจักรยานไฟฟ้าจะได้ประโยชน์อะไร เพราะมีแบตเตอรีและมอเตอร์ช่วยทุ่นแรงแบบนี้ จะได้ออกกำลังกายตรงไหน สุขภาพจะดีได้หรือ!?! เพราะเราจะคุ้นชินกับการปั่นจักรยานธรรมดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปั่นจักรยานเสือภูเขา ที่ได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์สนับสนุนเพื่อการออกกำลังกายและเพื่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป และแน่นอนว่า การปั่นจักรยานไฟฟ้าที่มีการใช้พลังแบตเตอรีและมอเตอร์ในการเคลื่อนที่ (ตรงข้ามกับการปั่นจักรยานปกติทั่วไป )ซึ่งไม่ใช่การปั่นโดยการออกแรงโดยมนุษย์อย่างแท้จริง จึงมักถูกตั้งคำถาม แต่ในตอนนี้งานวิจัยชิ้นใหม่ฉบับหนึ่งได้มีการนำเสนอข้อสังเกตเกี่ยวกับผลในด้านสุขภาพซึ่งเกิดจากการปั่นจักรยานไฟฟ้าที่มีวงจรเสริมระบบช่วยปั่น(Pedal-Assist) โดยงานวิจัยฉบับนี้ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของจักรยานไฟฟ้าที่เดิมอาจมีความเข้าใจไปในทางเดียวดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นั่นคือการปั่นจักรยานไฟฟ้าไม่สามารถทำให้มีสุขภาพดี
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Brigham Young University
ได้ทำการคัดเลือกอาสาสมัคร 33 คน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 18 – 65 ปี โดยได้ทำการทดลองในกลุ่มอาสามัครโดยการให้กลุ่มอาสาสมัครปั่นจักรยานเสือภูเขา 2 ประเภท ซึ่งเป็นจักรยานเสือภูเขาทั้งแบบธรรมดาและจักรยานเสือภูเขาแบบไฟฟ้า โดยปั่นผ่านเส้นทางสัญจรที่อยู่ในลักษณะ Single-track ซึ่งมีความยากในการเดินทางภายในเขตพื้นที่ชนบทของรัฐยูท่าห์เป็นระยะทางกว่า 6 ไมล์โดยหลังจากที่ได้มีการปั่นจักรยาน ได้มีการเปรียบเทียบอัตราการเต้นของหัวใจในอาสาสมัครเหล่านั้น โดยผลการเปรียบเทียบพบว่าในกรณีที่อาสาสมัครได้มีการปั่นจักรยานไฟฟ้าไม่มีการสูบฉีดเลือดภายในระบบร่างกายมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับการปั่นจักรยานแบบธรรมดา ดังนั้นการปั่นจักรยานแบบธรรมดาจึงยังมีความสำคัญอยู่ เพราะช่วยในเรื่องของการออกกำลังกาย แต่ในผลสรุปของการทดลองค้นพบว่าในอาสาสมัครที่ปั่นจักรยานทั้งสองแบบ ช่วยให้บริเวณอัตราการเต้นของหัวใจมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยอัตราการเต้นของหัวใจโดยเฉลี่ยของอาสาสมัครที่ปั่นจักรยานไฟฟ้าอยู่ที่ 93.6 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นจักรยานไฟฟ้ายังถูกจัดออกมาสำหรับสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายเป็นประจำ โดย
การปั่นจักรยานไฟฟ้าสามารถเป็นรูปแบบที่ดีในการออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือ Cardiovascular Exercise
นักวิจัยยังคงสำรวจการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครทั้งก่อนและหลังการปั่นจักรยาน เพื่อวัดพฤติกรรมของอาสาสมัครหลังจากที่ได้มีการปั่นจักรยานไฟฟ้า โดยก่อนการทดลองวิจัยอาสาสมัครส่วนใหญ่มีความรู้สึกในด้านบวกเกี่ยวกับจักรยานไฟฟ้า มีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีความรู้สึกในด้านลบเกี่ยวกับการปั่นจักรยานไฟฟ้า แต่เมื่อหลังจากที่ได้ลองปั่นจักรยานไฟฟ้าแล้วนั้นก็ได้มีความรู้สึกในเชิงบวกมากขึ้นเกี่ยวกับการปั่นจักรยานไฟฟ้า แม้ว่าจะเป็นการทดลองปั่นจักรยานไฟฟ้าในช่วงระยะเวลาสั้นๆก็ตาม แต่อีกมุมหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความน่าสนใจในการทดลองครั้งนี้คือ ในกลุ่มอาสาสมัครโดยส่วนใหญ่หลังจากที่ได้ทดลองปั่นจักรยานไฟฟ้าแล้วนั้น กลับรู้สึกเหมือนตนเองไม่ได้มีการออกกำลังกาย แม้ว่าในผลชี้วัดของการทดลองโดยมีเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจและเครื่องตรวจจับการเคลื่อนไหวของร่างกาย(Fitness Tracker) จะบ่งชี้ว่า อาสาสมัครที่ได้มีการปั่นจักรยานไฟฟ้าล้วนแล้วแต่มีอัตราชี้วัดการการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับที่ดีก็ตามด้วยผลงานวิจัยที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราสามารถมองเห็นความเป็นไปได้ของจักรยานไฟฟ้าซึ่งสามารถนำมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ทั้งในมิติของผู้ปั่นจักรยานในการทุ่นแรงในการปั่นมากขึ้น และ ในขณะเดียวกันจักรยานไฟฟ้าอาจสามารถช่วยให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง(Sedentary Behavior) มีเป้าหมายในการออกกำลังกายได้มากขึ้นแต่สิ่งหนึ่งที่
ทีมนักวิจัย Brigham Young University มีกังวลหลังจากที่ทดลองในเรื่องนี้
คือเรื่องความเร็วของผู้ขับขี่จักรยานไฟฟ้า ซึ่งในการทดลองครั้งนี้ความเร็วของอาสาสมัครปั่นจักรยานไฟฟ้าโดยความเร็วอยู่ที่ 4 ไมล์ต่อชั่วโมงซึ่งเกินกว่าที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ ซึ่งด้วยความเร็วที่เกินกำหนดเหล่านี้สามารถนำมาซึ่งปัญหาและมุมมองในแง่ลบต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ปั่นจักรยานไฟฟ้าใช้ความเร็วเกินกำหนดใน Bike lane ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่ปั่นจักรยานธรรมดาโดยใช้ความเร็วปกติเกิดความไม่พอใจได้ เป็นต้น
ในขณะเดียวกันก็ได้มีงานวิจัยย่อยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Medical Internet Research ซึ่งตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวการทดลองที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของจักรยานไฟฟ้าใน Boulder รัฐColorado ในปี 2016 ได้ค้นพบว่าการเดินทางโดยจักรยานไฟฟ้าช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายและช่วยเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด โดยผู้เข้าร่วมการทดลองโดยส่วนใหญ่ได้กล่าวว่าสามารถนั่งอยู่ในอานจักรยานได้นานขึ้นและรู้สึกสนุกกับการได้ปั่นจักรยานไฟฟ้า
ท้ายสุดในภาพรวม อาสาสมัครเข้าร่วมงานวิจัย Brigham Young University นั้นมีความรู้สึกในเชิงบวกกับการปั่นจักรยานไฟฟ้ามากขึ้นหลังจากที่ได้ทดลองปั่นจักรยานไฟฟ้า ดังกับสุภาษิตที่ว่า “Don’t knock it until you try it” โดยผู้เขียนรายงานศึกษาวิจัยได้สรุปว่าสั้นๆว่า “ได้มีการค้นพบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวงจรเสริมระบบช่วยปั่น(Pedal-Assist)ในรูปแบบที่เหมาะสม”